1. เหรียญหลวงพ่อคูณ ปี 2517 สร้างกุฏิสงฆ์วัดสระแก้ว ออกวัดสระแก้ว ปี 17 เนื้อทองแดง บล็อกนวะหูขีด พร้อมบัตรการันตี สภาพสวย จากสถาบันชั้นนํา
หลวงพ่อคูณ. เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นปี 2517 เป็นรุ่นยอดนิยม ที่มีประสบการณ์ต่างๆ มากมายเกี่ยวกับ แคล้วคลาด คุ้มครอง ป้องกันภัย. วัตถุประสงค์ในการสร้าง: สร้างเพื่อหาปัจจัยในการสร้างกุฏิสงฆ์ให้แก่วัดสระแก้ว. ปีที่สร้าง: 2517. วัดที่ออก: ออกวัดสระแก้ว. จํานวนการสร้าง: 1. เนื้อนวโลหะ 2,500 เหรียญ. 2. เนื้อทองแดง 99,999 เหรียญ. ลักษณะเหรียญ. เหรียญหลวงพ่อคูณปี ๑๗ เป็นเหรียญเนื้อทองแดงรมดํา รูปไข่มีห่วงในตัว ขนาดกว้าง ๒. ๒ ซม. สูง ๓. ๕ ซม. ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อคูณ หน้าตรงครึ่งองค์ มีเลขไทย ๑ ที่ชายสังฆาฏิ. เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าท่านทําเองครั้งแรก ตอกโค้ตที่สังฆาฏิเป็นดวงกลม แบ่ง ๓ ส่วน บรรจุภาษาไทยในแต่ละส่วนว่า บ. ร. ธ. มาจากชื่อฉายาว่า ปริสุทโธ. ด้านบนเขียนว่า หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ด้านล่างว่า วัดบ้านไร่ อ. ด่านขุนทด นครราชสีมา. ด้านหลังบรรจุดวงชะตาของ หลวงพ่อคูณ ล้อมด้วยพระคาถาภาษาขอมว่า สะนิทัสสะนะ อัปปะฏิคา มะอะอุ เป็นพระคาถามหาอุด หยุดกระสุนปืนมิให้ออก. ขืนออกมาจะทําให้ปากกระบอกปืนแตก จึงเชื่อว่าสามารถป้องกันภัยจากปืนได้ ท่านผู้อ่านจะนําไปใช้เป็นพระคาถาภาวนา หลังจากอาราธนาพระเครื่องคล้องคอเพิ่มเติมด้วย. จะเพิ่มพลังความเข้มขลังให้แก่วัตถุมงคลที่ใช้เป็นทวีคูณ. รอบนอกสุดเป็นพระคาถาหลายกลุ่มมารวมกันคือ. นะโม พุทธยะ หัวใจพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์. นะมะพะธะ หัวใจธาตุทั้งสี คือ ดิน น้ํา ไฟ และลม. มะอะอุ อุอะมะ หัวใจพระรัตนตรัย คือ มะ มาจากคําว่า มหาสังโฆ อะ มาจากคําว่า อรหัง และ อุ มาจากคําว่า อุตตะมะ ธัมโม. หลวงพ่อคูณว่า มะอะอุ ของท่านนี้มาจากพระอรหันต์ ๓ องค์ คือ มะ มาจาก พระโมคคัลลา อะ มาจาก พระอานนท์ และ อุ มาจาก พระอุบาลี ซึ่งท่านใช้พระคาถาหัวใจพระรัตนตรัยนี้. ลงในแผ่นทอง เป็นตะกรุดฝังที่ใต้ท้องแขนจนมีชื่อเสียงโด่งดังคับประเทศไทยมาแล้ว. ยานะยา เป็นคําห้ามว่า อย่านะ ให้หยุดประพฤติชั่วมุ่งประกอบแต่คุณงามความดี}และพระคาถามหาอุตม์อีกชุดหนึ่งว่า พุทธังอุด ธัมมังอัด สังฆังดับ อิติปิด. ส่วนบนของยันต์ดวงเป็นยันต์องค์พระ บนยอดสุดบรรจุ มิ แถวที่ ๒ว่า พุทธะสัง นํามารวมแล้วได้ พุทธะสังมิ คือหัวใจตรัยสรณาคม. พุท ย่อมาจาก พุทธัง หมายถึง พระพุทธเจ้า. ธะ ย่อมาจาก ธัมมัง หมายถึง พระธรรม. สัง ย่อมาจาก สังฆัง หมายถึง พระสงฆ์. มิ มาจากคําว่า สรณังคัจฉามิ ซึ่งอยู่เบื้องปลายของพระคาถาบูชาพระรัตนตรัย คือ พุทธังสะระนังคัจฉามิ ธัมมังสะระนังคัจฉามิ สังฆังสะระนังคัจฉามิ ฯลฯ. แถวล่างว่า ปาอิอาปะ. พิจารณาจากยันต์พระคาถาที่หลวงพ่อบรรจุ หลังเหรียญรุ่นนี้แล้ว เชื่อว่าดีครบเครื่อง ไม่ว่าจะทางด้านคงกระพันชาตรี ป้องกันภัยจากกระสุนปืน แคล้วคลาดและเมตตามหานิยมครับ